Digital Marketing

5 เทรนด์อัปเดต Digital Marketing ปี 2021

ปีนี้เป็นปีที่เรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากมายตั้งแต่ต้นปี จนกระทั่งในเดือนสุดท้ายซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายต่างก็เต็มไปด้วยความท้าทาย ผู้บริโภคต่างเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ รวมไปถึงเทรนด์การทำตลาดก็เปลี่ยนไป ด้วยเหตุนี้หลายแบรนด์จึงเริ่มปรับตัวและเริ่มวางแผนกลยุทธ์ในการทำธุรกิจในปี 2021 ซึ่งบอกได้เลยว่าเป็นโจทย์ที่ไม่ง่ายเลยทีเดียว 

Vtacecommerce จึงได้รวบรวมเทรนด์ Digital Marketing สำหรับการต่อยอดและวางแผนกลยุทธ์การตลาดที่คุณจะต้องเจอในปีหน้า และเทรนด์ Digital Marketing ปี 2021 จะมีอะไรบ้างมาดูกัน

  1. คอนเทนต์จากผู้บริโภค (User-Generated Content)
  2. การค้นหาด้วยเสียง (Voice Search)
  3. อินฟลูเอนเซอร์เฉพาะทาง (Micro-Influencer)
  4. โฆษณาแบบวิดีโอ (Video Advertising)
  5. ไลฟ์ คอมเมิร์ซ (Live Commerce)
Digital Marketing

1. คอนเทนต์จากผู้บริโภค (User-Generated Content)

UGC เป็นหนึ่งในรูปแบบการตลาดแบบปากต่อปากที่ทรงพลังมาก หรือที่เราเรียกว่า คอนเทนต์จากผู้บริโภค UGC คือ เนื้อหา หรือคอนเทนต์ที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายผลิตขึ้นมาเอง เช่น เป็นการพูดถึงแบรนด์หรือร้านค้าที่พวกเขาเหล่านั้นประทับใจ เป็นเนื้อหาที่ลูกค้าเต็มใจโพสต์ โดยที่ทางร้านค้าหรือเจ้าของแบรนด์ไม่ต้องเสียเงินจ้าง 

และสำหรับปี 2021 คอนเทนต์ในลักษณะนี้จะขยับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปีที่ผ่านๆมา คอนเทนต์ UGC นี้เป็นคอนเทนต์ที่หลายๆแบรนด์กว่า 86% นำไปต่อยอดเป็นคอนเทนต์ในธุรกิจ และมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงเพราะมีความน่าเชื่อถือ ช่วยสร้างยอดขายให้กับร้านค้าต่างๆได้จริง 

Digital Marketing

2. การค้นหาด้วยเสียง (Voice Search)

พูดได้เลยว่า ในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้นี้ หากคุณต้องการให้ผู้บริโภคเข้าถึงเว็บไซต์หรือช่องทางต่างๆ ของแบรนด์ คุณต้องปรับช่องทางต่างๆของแบรนด์ให้เหมาะกับการค้นหาด้วยเสียง

การค้นหาด้วยเสียง หรือ Voice Search คือ การใช้เสียงเพื่อการค้นหา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากมี Device ที่รองรับการสั่ง และค้นหาด้วยเสียงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน, Google Home, Amazon Alexa หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านที่มีแนวโน้มจะรองรับคำสั่งเสียงเพิ่มขึ้น นั่นจึงเป็นเหตุผลที่การค้นหาด้วยเสียงเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นนั่นเอง

จากข้อมูลล่าสุดของ We Are Social เผยว่า สถิติการใช้ Voice Search ของคนไทยในปี 2020 อยู่อันดับ 7 ของโลก และ 45% ของคนไทยมองว่าการสั่งการค้นหาด้วยเสียงเป็นเรื่องปกติ และคาดว่าในปี 2021 จะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

Digital Marketing

3. อินฟลูเอนเซอร์เฉพาะทาง (Micro Influencer)

อินฟลูเอนเซอร์เฉพาะทาง หรือ Micro influencer คือ คนที่มีความรู้ เชี่ยวชาญในเรื่องที่ตัวเองถนัดเป็นอย่างดี (มีผู้ติดตาม 5,001 – 100,000 คน) เน้นทำในสิ่งที่พวกเขาให้ความสนใจจริง ๆ จึงถูกมองว่าเป็นคนที่น่าเชื่อถือ คนกลุ่มนี้สามารถสร้างความสัมพันธ์กับ Follower ได้อย่างแข็งแกร่ง เพราะเนื้อหาที่มีความเฉพาะจึงดึงดูดคนที่ชอบอะไรคล้าย ๆ กันได้

ปัจจุบันบริษัทต่างๆ อาจจะยังไม่ได้ให้ความสนใจกับผู้มีอิทธิพลขนาดเล็กมากนัก แต่สำหรับในปี 2021 Micro influencer ก็ยังเป็นองค์ประกอบที่ช่วยแบรนด์ในการทำการตลาดได้ดี ถึงจะมีผู้ติดตามน้อย แต่เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้ถือว่าคุ้มค่ามาก เพราะแมสเสจของพวกเขาส่งผลถึงการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคโดยตรง กระตุ้นทั้ง Engagement และยอดขาย ที่สำคัญยังเหมาะกับธุรกิจทุกขนาดและทุกกลุ่ม

Digital Marketing

4. โฆษณาแบบวิดีโอ (Video Advertising)

เนื่องจากปัจจุบันแพลตฟอร์ม Social Media เริ่มพัฒนาฟีเจอร์วิดีโอให้ใช้งานง่ายขึ้น มีลูกเล่นสนุกๆ อัดแน่นเพียบ อาทิ IG Stories, TikTok และ YouTube จากข้อมูลของ eMarketer จึงมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2021 เม็ดเงินโฆษณาวิดีโอเพิ่มขึ้นเป็น 14.89 พันล้านดอลลาร์ และ 1 ใน 3 ของผู้บริโภคจะซื้อสินค้าหลังเห็นโฆษณาวิดีโอ  

โฆษณาแบบวิดีโอ หรือ Video Advertising คือ การนำเสนอสื่อต่างๆ ในรูปแบบของมัลติมีเดียที่สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงบรรยายได้ จากสถิติการใช้งานอินเตอร์เน็ต  ระบุว่า   ประชาชน 1 คน มีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ได้ถึง 3 เครื่อง คือ Pc  มือถือ และ tablet

เมื่อข้อเท็จจริงชัดเจนขนาดนี้แล้ว ตอบคำถามนี้ด้วยตัวคุณเองว่า “ในหนึ่งสัปดาห์ คุณดูโฆษณาจากหนังสือกี่ครั้ง? ดูโฆษณาจากทีวีกี่ครั้ง? และดูคลิปโฆษณากี่ครั้ง?”

ข้อดีของทำโฆษณาโปรโมทด้วยรูปแบบวิดีโอ
1. เข้าถึงลูกค้าตรงกลุ่มเป้าหมายเพราะลูกค้าเป็นฝ่ายค้นหาเราจดจำเราเลือกบริการของเรา จำนวนคนที่เข้ามาดูเพิ่มขึ้นคลิปวิดีโอที่สวยงามน่าสนใจสร้างแรงกระตุ้นแรงจูงใจให้มาเยี่ยมชมเว็บหรือเพจของร้านได้อย่างดี
2. ประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพ สามารถวัดผลได้แม่นยำบุ๊คมาร์คและส่งต่อได้ทันทีไม่มีลืมเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ทันยุคทันสมัย
3. สร้างแฟนคลับและแบรนด์รอยัลตี้กับกลุ่มลูกค้าการทำโปรโมทอย่างต่อเนื่อง ทำให้ลูกค้าที่บอกต่อนั้นกลับมาซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสร้างความเชื่อมั่น จากคลิปเก่าย้อนหลังไปได้อีกด้วย

Digital Marketing

5. ไลฟ์ คอมเมิร์ซ (Live Commerce)

ไลฟ์ คอมเมิร์ซ หรือ Live Commerce คือ การผสมผสานระหว่างการเผยแพร่วิดิโอแบบ Real-Time หรือไลฟ์สตรีมมิ่ง เข้ากับ E-commerce หรือการซื้อขายออนไลน์เข้าด้วยกัน หรือที่เราคุ้นหูกันว่า Live ขายของ, ไลฟ์ขายของ นั่นเอง โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นสินค้าชนิดไหน ขายอยู่ที่ใด อีกทั้งผู้ขายและผู้ซื้อยังสามารถพูดคุย แลกเปลี่ยน หรือนำเสนอสินค้าได้ทันที 

ในปีที่ผ่านมาการไลฟ์ขายสินค้าในเอเชียโตขึ้น 46.4% สำหรับในไทยเองก็มีแพลตฟอร์มที่เหมาะกับการไลฟ์ อาทิ Facebook, Instagram, Lazada, Shopee เป็นต้น แม้การไลฟ์จะทำได้ง่าย แต่สำหรับแบรนด์และนักการตลาดต้องทำการบ้านอย่างหนักหน่วง เพื่อรับมือกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้น เพราะการไลฟ์เป็นการสื่อสารแบบ Real-Time ทำอย่างไรให้ดึงดูดผู้ชมได้ตลอดการไลฟ์ ดูแล้วอยากซื้อทันที และที่สำคัญคือต้องมี Influencer หรือผู้ดำเนินรายการที่เหมาะสม มีความน่าเชื่อถือ มีลูกเล่นเพื่อสื่อสารกับคนดู

และในปี 2021 ดูเหมือนจะไม่สามารถคาดเดาได้ ด้วยสถานการณ์ของโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ความสามารถในการปรับตัวเป็นกุญแจสำคัญสำหรับแบรนด์ที่ต้องการอยู่รอดและเติบโต 

และนี่คือ 5 เทรนด์อัปเดตสำหรับ Digital Marketing ปี 2021 เป็นเทรนด์ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นที่นิยมมากๆ สำหรับเจ้าของแบรนด์สินค้าต่างๆ ซึ่งเรารวบรวมมาให้ อ่านแล้วแอดเชื่อว่าเป็นสิ่งที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง และมีผลลัพธ์ที่อยู่ในเกณฑ์ดี ใครถนัดในข้อไหน หรือจะเลือกทำทั้งหมด 5 เทรนด์ แอดว่าก็จะยิ่งทำให้แบรนด์ของคุณประสบความสำเร็จได้ไม่ยากเลยทีเดียว ใครลองทำแล้วได้ผลยังไงก็อย่าลืมมาอัปเดตหรือมาแชร์ประสบการณ์ให้เพื่อนๆบ้างนะคะ คราวหน้าแอดจะมีเทรนด์เด็ดอะไรอย่าลืมติดตามกันด้วยนะคะ 

ขอบคุณข้อมูลจาก: https://afluencer.com

ติดตามข่าวสารจากเราได้ที่

Facebook: VTACecommerce Website: www.vtacecommerce.com 

Line OA: @vtacecommerce

Leave a Reply